วิศวะฯจุฬา จับมือ เปิด AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE Sandbox ต่อยอด 5G Use case หนุนเศรษฐกิจดิจิทัล

กองบรรณาธิการ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือ AIS 5G ต่อเนื่อง หลังจากร่วมเป็นพันธมิตรทดลอง ทดสอบ 5G ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน ร่วมเปิดตัวศูนย์ 5G R&D ในชื่อ “AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE” แห่งแรกของสถาบันการศึกษาในเมืองไทย ณ อาคาร 100 ปี วิศวฯ จุฬา ที่ติดตั้ง LIVE Private Network ด้วยสถานีฐาน 5G กับ 2 คลื่นความถี่ 2600 MHzและ 26 GHz (mmWave) พร้อมกิจกรรมส่งเสริมการวิจัยนวัตกรรม 5G ให้นิสิตและคณาจารย์ หนุนภาคอุตสาหกรรม เสริมแกร่งประเทศ

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส กล่าวว่า ในโอกาสเปิดตัว AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE ซึ่งเป็นความร่วมมือกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนภาคการศึกษา เปิดพื้นที่เพื่อพัฒนาความพร้อมให้แก่นิสิต นักศึกษา นักวิจัย รวมถึง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในแวดวงของเทคโนโลยี Digital ของไทย ได้มีโอกาสลงมือทดลอง ทดสอบ เพื่อพัฒนาไอเดียด้วยเทคโนโลยีอย่าง AI,ML,VR,AR,MR,IoT,Metaverse,Robotic ,ฯลฯ บนเครือข่าย 5G

“แม้ว่าวันนี้ประเทศไทยจะมีบริการ 5G เชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 โดย AIS เป็นรายแรกที่เปิดให้บริการด้วยการมีคลื่นความถี่มากที่สุดคือ 1420 MHz แต่ประโยชน์ของ 5G ยังจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะในส่วนของ Digital Transformation ที่จะพลิกโฉม Business Model ของทุกภาคส่วนให้พร้อมกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจาก Digital Disruption และการเกิดขึ้นของโควิด ดังนั้นการทำงานร่วมกับภาคการศึกษา เพื่อค้นคว้า วิจัย ทดลอง ทดสอบ จึงเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญสูงสุดเสมอมา ดังเช่น ความร่วมมือกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน ที่ยังทำงานกันมาอย่างต่อเนื่องผ่าน use case ต่างๆ ทั้งที่เป็นผลงานวิจัยของคณาจารย์ หรือ โครงการของนิสิต ที่ล้วนแต่มีเป้าหมายเดียวกันคือ นวัตกรรมเพื่อประเทศ จึงเป็นที่มาของการเปิดตัว  “AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE” แห่งแรกของสถาบันการศึกษา ในเมืองไทย ณ อาคาร 100 ปี วิศวฯ จุฬา ที่มีเป้าหมายเพื่อเป็นพื้นที่ทดลอง ทดสอบ 5G บนสภาพแวดล้อมจริงด้วย LIVE Private Network   ซึ่งนิสิต นักศึกษา คณาจารย์ รวมถึงนักพัฒนา ใน 5G Ecosystem สามารถใช้เป็นพื้นที่ศึกษา เรียนรู้ ทดลอง ทดสอบ เทคโนโลยีต่างๆทั้ง AI,ML,VR,AR,MR,IoT,Metaverse, Robotic, ฯลฯ บน 5G ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด เพราะได้ติดตั้งสถานีฐาน 5G ที่เลือกเอาคลื่น 2600 MHz และ คลื่น 26 GHz (mmWave) ที่เหมาะกับการพัฒนา Use case ในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Industrial solutions, Holograms Solutions หรือ Fixed Wireless Access-FWA   เพราะช่วงความถี่อย่าง 26 GHz มีปริมาณ Bandwidth มหาศาลและความหน่วงต่ำมาก (Low Latency), การสนับสนุนอุปกรณ์ส่งสัญญาณอย่าง 5G CPE , องค์ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างการทำงานของเทคโนโลยี 5G, พร้อมทั้งการสัมมนา workshop จาก Guest Speaker หลากหลายวงการ เพื่อพัฒนาความรู้ ความชำนาญในทางเทคนิค ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill รวมไปถึงการเชิญชวนร่วม Co-Develop บริการต้นแบบบน 5G อีกด้วย และ 5G จะเป็นNext wave ที่มีส่งนในการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เกิดขึ้นอย่างจริงจัง และ AIS 5G เข้ามาสนับสนุนภาคการศึกษาของคณะวิศวะฯ จุฬา ได้เป็นอย่างดี และสามารถที่จะส่งต่อนักวิจัยและนิสิตผ่านการ Workshop การถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมถึง การทดลองกับระบบที่ AIS 5 ติดตั้งสำหรับรองรับสถาบันการศึกษา”นายวสิษฐ์ กล่าวและว่า

ความร่วมมือกับวิศวะฯ จุฬา ในครั้งนี้เป็นการนำเทคโนโลยี 5G มาช่วยในการสร้าง ยูสเคส (Use Case) เพื่อสนับสนุนนิสิต คณาจารย์ และนักวิจัย ในการทำงานและการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ร่วมกัน สามารถพัฒนาเทคโนโลยี แพลตฟอร์มและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรองรับการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ และตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมที่มีความต้องการใหม่ๆ ในปัจจุบันและอนาคต

“AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE จะมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี อบรมเทรนนิ่ง รวมถึงการสร้าง Sandbox และ Showcase ต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ (Build awareness) มีการต่อยอดของ Use Case ต่างๆ บนเครือข่าย AIS Advance เพื่อรองรับการพัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ๆรองรับความต้องการและตอบโจทย์ของอุตสาหกรรมต่างๆ และ AIS 5G มองว่า ภาคการศึกษาเป็นส่วนสำคัญ ในการสร้างการตระหนักรู้ การตื่นตัวในเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ นิสิต นักศึกษาเป็นอีกกลุ่มที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น’ กล่าวและว่า

สำหรับเครือข่ายที่ AIS 5G ติดตั้งเพื่อรองรับการใช้งานของคณะวิศวะฯ ประกอบด้วย เครือข่าย 1700 MHz, 1800 MHz, 2600, 26 GHz (mmWave), CPE 5G และ ให้ SIM Card สำหรับนิสิตในการทดลองระบบและแพลตฟอร์มต่างๆด้วย

ในส่วนของ AIS X Chula Use Cases ที่ร่วมกันพัฒนา อาทิ Walkie Domestic Robot หุ่นยนต์ผู้ช่วยในบ้าน Kaimook หุ่นยนต์ที่ช่วยดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home Healthcare Robot) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมอง สามารถช่วยในการดูแลคนไข้ทางไกล เป็นหุ่นยนต์ที่ช่วยในการเฝ้าระวังโรคหลอดเลือดในสมอง หุ่นยนต์ที่ช่วยในการทำกายภาพบำบัด Rehabilitatikn Robot สามารถช่วยลดภาระของนักกายภาพบำบัด นอกจากนี้ ยังมีการโชว์รถยนต์ไร้คนขับอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน AIS 5G มีการติดตั้งเครือข่าย 5G ทั่วประเทศ มีครอบคลุมการพื้นที่ 80 เปอร์เซ็นต์ มีการติดตั้งสถานีฐานประมาณ 20,000 แห่ง ทั่วประเทศ ในส่วนของกรุงเทพมหานครและ บริเวณระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC บริษัทฯ ได้ติดตั้งเครือข่าย 5G รองรับการใช้งาน 100 เปอร์เซ็นต์

ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ความร่วมมือกับ AIS 5G จะเป็นส่วนสำคัญในการเรียน การสร้าง Use Case ที่จะสามารถใช้งานได้ และวิศวะฯ จุฬาเป็น 1 ในสถาบันการศึกษาด้านเทคโนโลยีที่เข้าไปร่วมทำงานกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น กสทช. , DE หรือ ภาคเอกชน เพื่อทดลอง ทดสอบ use cases ต่างๆที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ sector หลักของประเทศให้ได้มากที่สุด ดังนั้นการมีสถานที่ ซึ่งมีสภาพแวดล้อมเสมือนจริงอย่าง AIS 5G Playground และ 5G Garage ที่มีความครอบคลุมของคลื่นความถี่ของ 5G แบบ LIVE Network จึงถือว่าตอบโจทย์และสามารถส่งเสริมให้นิสิต และ คณาจารย์ ได้ใช้เป็นแหล่งทำงานวิจัย แลกเปลี่ยน เรียนรู้ สร้างสรรค์นวัตกรรมบน Sandbox ได้อย่างดี ที่สำคัญถือเป็นการผสมผสานองค์ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีจากเราและภาคปฏิบัติที่เกิดจากประสบการณ์ในการทำงานจริงของ AIS ที่จะมาช่วยเสริมทักษะให้แก่นิสิตและคณาจารย์ ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อประเทศไทย ผ่านเครือข่าย 5G ทั้งนี้มีการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีความรู้พื้นฐาน รวมถึงการจัด Workshop ให้กับนิสิตคณะต่างๆ นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในสาขาที่เกี่ยวข้องและงานวิจัยที่ต้องการทดสอบระบบเพื่อให้สามารถพัฒนาเทคโนโลยี แพลตฟอร์มและนวัตกรรมใหม่ๆรองรับความต้องการขอฃผู้ใช้งานและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องการใช้งาน เครือข่ายและเทคโนโลยี 5G ได้อย่างแท้จริง

นายวสิษฐ์ กล่าวต่อว่า การที่ภาคการศึกษา ให้ความสำคัญกับการฝึกฝน สร้างทักษะเพื่อเตรียมรองรับเทคโนโลยี 5G และ 5G Advance ถือเป็นวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องอย่างยิ่ง เพราะ 5G คือเทคโนโลยีที่จะช่วยยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากคุณสมบัติ 3 ส่วน คือ ความเร็วที่เพิ่มขึ้น, ขยายขีดความสามารถการเชื่อมต่อของ IoT และ ทำให้เครือข่ายตอบสนองได้รวดเร็วและเสถียรที่สุด  ดังนั้นการศึกษาให้มากที่สุดย่อมทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ ได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาแนวคิดจากต่างประเทศเพียงอย่างเดียว ซึ่ง AIS พร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่

“เครือข่าย 5G ไม่ใช่แค่เรื่อง โทรศัพท์มือถือ ความเร็วของมือถืออีกต่อไป 5G เป็นเรื่องของ USE Case และการใช้งานของโทรศัพท์มือถือ สู่ความต้องการใหม่ๆสำหรับอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เช่น อุตสหกรรมทางการแพทย์ (Healthcare) การสื่อสาร คมนาคม เป็นต้น” นายวสิษฐ์ กล่าว

#AIS5G #คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬา #ThaiSMEs #AIS5GPLAYGROUND&5GGARAGE

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share