TCELS พร้อมหนุนผู้ประกอบการสมุนไพร ส่งสินค้าออกตลาด ด้านกรรมการ สปสช. แนะผู้ประกอบการผลิตสินค้าคุณภาพ ป้อนตลาดภาครัฐ

กองบรรณาธิการ

TCELS เล็งเห็นโอกาสตลาดสมุนไพรไทยโตกว่าหมื่นล้าน ผสานความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อเสริมศักยภาพใน งานสัมมนา TCELS Business Forum 2023 Keep an Eye on the Future : Unlocking the  Capability  of Thai Herbal Business ปลดล็อคการเติบโตของอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย เล็งหนุนผู้ประกอบการ ผลิตสินค้าออกสู่ตลาดภาครัฐ

ตลาดสมุนไพรไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในปี2565 ตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศมีมูลค่าสูงถึง 52,104 ล้านบาท โดยมีมูลค่าการส่งออกสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคอาเซียน โดยอ้างอิงจากรายงานสุขภาพคนไทย ประจำปี 2566 โดยประเทศไทยมีสมุนไพรกว่า 1,800 ชนิดที่ปรากฏสรรพคุณและมีการนำมาใช้ประโยชน์  ซึ่งสมุนไพรไทยนอกจากความต้องการภายในประเทศแล้วยังเป็นที่ต้องในตลาดต่างประเทศด้วยความหลากหลายทางชีวภาพทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นผู้นำส่งออกในภูมิภาค   แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังมีข้อจำกัดด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น  อุตสาหกรรมยาจากธรรมชาติ อุตสาหกรรมแปรรูปสมุนไพร และอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปอาหาร    เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม TCELS มีนนโยบายในการสนับสนุนผู้ประกอบการสมุนไพรอย่างต่อเนื่อง โดยได้ผสานความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ และเพิ่มมูลค่าอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมนี้

ว่าที่ร้อยเอก ภก.ดร.วฤษฎิ์ อินทร์มา ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมและการลงทุน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS กล่าวว่า TCELS ได้ปรับบทบาทของหน่วยงานใหม่ มาเป็นหน่วยงานที่ควบคุมและสนับสนุน

การผลิตอาหารที่เป็นยา และช่วยให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสารสกัดต่างๆ เพื่อรองรับตลาด โดยมุ่งเน้นการผลิตสารสกัดสมุนไพรเป็น สารสกัดสมุนไพรเพื่อรองรับตำราแพทย์แผนไทย มีการนำสารสกัดมารวมกัน เป็นสารสกัดที่เป็นยาใหม่ และการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการพัฒนาสินค้าสมุนไพรที่มีคุณภาพได้มาตรฐานออกสู่ตลาด โดยเฉพาะตลาดภาครัฐ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีก่อนที่จะขยายไปยังตลาดเอกชน อย่างไรก็ตามเพื่อรองรับการสนับสนุนผู้ประกอบการในการนำเสนอผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด TCELS มีนโยบายในการให้ทุนผู้ประกอบการในการนำเสนอสินค้าเข้าสู่ตลาดรวมทั้งการช่วยผู้ประกอบการในการต่อยอดธุรกิจด้วย

ในปีนี้ TCELS ให้ทุนผู้ประกอบการไปแล้วประมาณ 10 ราย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 50 ล้านบาท

“การพาผู้ประกอบการไปสู่ภาครัฐ เราเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกผู้ประกอบการจัดเตรียมเอกสาร และให้ทุน เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดให้ได้” ว่าที่ร้อยเอก ภก.ดร.วฤษฎิ์ กล่าว

ด้าน ดร.พัชราภรณ์ วงษา ผู้อำนวยการโปรแกรมบริหารโภชนเภสัชภัณฑ์และเวชสำอาง กล่าวต่อว่า จากการปรับบทบาทใหม่ที่ TCELS เป็นหน่วยงานให้ทุน มุ่งเน้นด้านอาหารที่เป็นเรื่องของยา และสารสกัดต่างๆ TCELS มุ่งเน้นส่งเสริมการให้ผู้ประกอบการทำ Commercialization หรือเอาไปขายให้ได้ ถ้าผู้ประกอบการเข้าสู่ภาครัฐได้ก็จะขยายธุรกิจต่อได้ไปสู่ภาคเอกชน ซึ่ง TCELS จะเข้าไปช่วยลงทุนเพื่อให้ผู้ประกอบการขายได้ นำสิ่งที่มีมาต่อยอด ยาที่มีความพร้อมนำไปสร้างมาตรฐานเพื่อส่งขายในประเทศและต่างประเทศ

ดร.พัชราภรณ์  กล่าวต่อว่า ในส่วนของการสนับสนุนผู้ประกอบการสมุนไพร จะมุ่งเป้าสมุนไพรที่เป็นผลิตภัณฑ์แชมเปี้ยน 15 ตัว ตามแผนสมุนไพรแห่งชาติ เช่น ฟ้าทะลายโจร  ขมิ้นชัน กระชายดำ ฯลฯ

งบประมาณที่สนับสนุนผู้ประกอบการสมุนไพรจะเป็นโครงการปีต่อปี หากผู้ประกอบการสมุนไพร ที่มีศักยภาพมาก สามารถที่จะขอทุนสนับสนุนต่อเนื่องได้

และในส่วนของผู้ประกอบการสมุนไพรที่เป็นโรงงานสกัดสมุนไพรในประเทศ 

“ปัจจุบันเรามีโรงงานสกัดสมุนไพรประมาณ 10 แห่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงงานที่สกัดสมุนไพรแบบสกัดเพื่อใช้เอง  ทำให้มีการนำเข้าสารวกัดสมุนไพรจากต่างประเทศมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ และ TCELS ตั้งเป้าที่จะสนับสนุนผู้ประกอบการสมุนไพรไทยสามารถผลิตสารสกัดสมุนไพรในประเทศประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ในอีก 3 ปีข้างหน้าเพื่อลดการนำเข้า ทำมห้มีการนำเข้าที่ 70 เปอร์เซ็นต์ หากผู้ประกอบการสมุนไพรสามารถผลิตสารสกัดได้เยอะๆ และถ้าเราสามารถผลิตสารสกัดได้ในราคาที่แข่งได้กับที่นำเข้า จะทำให้เกิดซัพพลายเชนมหาศาล สามารถที่จะป้อนให้กับโรงงาน ที่มีจำนวนมากซึ่งเป็นซัพพลายเชนที่สำคัญมาก” ดร.พัชราภรณ์ กล่าว

นอกจากนี้ นายแพทย์ สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และอดีตประธานกรรมการ ศลช. กล่าวว่า ตัวเลขการเติบโตของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรนั้นค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง ส่วนการนำยาที่ผลิตจากสมุนไพรมาใช้ในระบบสุขภาพประเทศไทยมีจำนวนน้อย เนื่องจาก ระบบสุขภาพเติบโตมาด้วยยาแผนปัจจุบัน เภสัชกรและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จะคุ้นเคยในการจ่ายยาแผนปัจจุบัน ทำให้มีการใช้ยาสมุนไพรกับหน่วยงานภาครัฐไม่มากนักในขณะที่กลุ่มที่มีการใช้ยาสมุนไพรจำนวนมากคือร้านขายยาและประชาชนที่ซื้อยาสมุนไพรมาใช้เอง

ทั้งนี้คาดว่ามูลค่าของยาสมุนไพรไทยในตลาดมีมูลค่าประมาณ 500 – 600 ล้านบาท ดังนั้น เพื่อให้ยาสมุนไพรไทยได้รับการยอมรับและมีการนำไปใช้ในหน่วยงานภาครัฐ เพื่อบรรจุเป็นยาหลักของชาติซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 97รายการ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องผลิตยาสมุนไพรที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน อย. มีความปลอดภัย รวมถึง มีราคายาที่มีกำไรมากกว่ายาแผนปัจจุบัน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้โรงพยาบาล รวมถึงร้านขายยาซึ่งปัจจุบันสามารถรักษาโรคต่างๆๆได้ 16 โรคมีการจ่ายยาสมุนไพรไทยในการรักษามากยิ่งขึ้น และประชาชนเองสามารถปลูกสมุนไพรเพื่อใช้ในครัวเรือน และช่วยเหลือตัวเองได้

#TCELS #TCELSBusinessForum2023 #ThaiHerbalBisiness

#ปลดล็อคการเติบโตของอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย  #ThaiSMEs

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share