เอ็นไอเอเผย 5 นวัตกรรม “เทเลเฮลธ์” เชื่อมผู้ป่วยระยะไกลใกล้มือหมอ

เมื่อระยะห่างทางสังคม (Social distancing) เข้ามามีบทบาทที่สำคัญในภาวะวิกฤตไวรัสโควิด-19 Shift Academy  ขอนำเสนอ 5 แอพพลิเคชั่นเด่น ตัวช่วยให้คุณอุ่นใจในการดูแลสุขภาพ

Ooca: อูก้า แอพพลิเคชั่นให้บริการปรึกษาสุขภาพจิตผ่านวิดีโอ คอล

อูก้าเป็นแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการให้คำปรึกษาทางสุขภาพจิตผ่านวิดีโอคอล โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยาที่เชี่ยวชาญตรงกับหัวข้อที่ประสบปัญหา และยังสามารถเลือกนัดหมายในเวลาที่สะดวกหรือพูดคุยปรึกษาได้ทันที โดยอูก้าให้บริการทั้งบุคคลทั่วไป และพนักงานบริษัทในรูปแบบของสวัสดิการพนักงาน ปัจจุบัน มีบริษัทที่เป็นลูกค้าองค์กรอยู่ 12 บริษัท และมีพนักงานที่ดูแลรวมกว่า 24,000 คน สำหรับในสภาวะการระบาดของโควิด – 19 นี้ อูก้ายังเปิดให้บริการเสริมภายใต้ชื่อ ooca x Covid-19 เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่มีความวิตกกังวลในสถานการณ์ โดยเฉพาะผู้ที่ถูกกักตัว (quarantine) และเกิดภาวะเครียด หรือตื่นตระหนก ซึ่งอูก้าสามารถให้บริการคำปรึกษาที่เกี่ยวกับสภาวะจิตใจ โดยที่ประชาชนไม่ต้องออกจากบริเวณกักตัวได้

ใกล้มือหมอ: แอพพลิเคชั่นที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น

ใกล้มือหมอเป็นแอพพลิเคชั่นที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น รวมถึงอธิบายรายละเอียดของโรคต่างๆ พร้อคลิปวิดีโอแนะนำการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งยังสามารถบันทึกประวัติอาการเพื่อติดตามผลย้อนหลังได้ ตลอดจนสามารถค้นหาโรงพยาบาลใกล้เคียงได้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีทีมแพทย์จิตอาสาเฉพาะทางเข้าร่วมตอบคำถาม ซึ่งช่วยลดภาระงานของแพทย์ในโรงพยาบาล ลดค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาล และลดภาระงบประมาณการรักษาพยาบาลของประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่มีระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประชาชนทั่วสามารถเข้าในแอพฯเพื่อเช็คอาการหากสงสัยว่ามีแนวโน้มติดเชื้อหรือไม่ พร้อมแนวทางการดูแลตัวเอง และรายชื่อโรงพยาบาลที่สามารถทำการตรวจเชื้อ PCR ของโควิด-19 ได้ทันที

 Diamate: ไดอะเมท แอพพลิเคชั่นดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่บ้าน

ไดอะเมท แอพพลิเคชั่นดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่บ้านร่วมกับการรักษาที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันถือเป็นอีกกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะรุนแรงหากติดเชื้อโควิด – 19 Diamate จึงเป็นแอพพลิเคชันที่ตอบโจทย์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่บ้าน ร่วมกับการรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งระบบดังกล่าวจะช่วยดูแลผู้ป่วยเบาหวานหลังจากรักษาตัวในโรงพยาบาล ด้วยการใช้แอพพลิเคชั่นรับคำแนะนำการปฏิบัติตัวจากทีมนักโภชนาการ ซึ่งเป็นทีมเดียวกับแพทย์ผู้ให้การรักษาที่โรงพยาบาลนั้นๆ แอพพลิเคชั่นจะมีการแนะนำการกินอาหาร รวบรวมสถิติการกินอาหาร และระดับน้ำตาลเพื่อให้แพทย์ได้ทราบ ส่งผลให้การวางแผนการรักษาและการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงมีการเก็บข้อมูลการใช้ยา การให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวในแต่ละวัน นอกจากนี้ระบบยังสามารถเชื่อมต่อกับผู้ป่วยที่มีเครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ทำให้ช่วยติดตามระดับน้ำตาลของผู้ป่วยได้แบบเรียลไทม์พร้อมแจ้งเตือนเมื่อเกิดความผิดปกติได้อย่างทันท่วงทียาบาล

Zeekdoc: แพลตฟอร์มค้นหาบริการและผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์

สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการค้นหาและนัดหมายแพทย์เฉพาะทางใกล้บ้าน ZeekDoc เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มทางเลือกของคุณ เนื่องจาก

 Zeekdoc เป็นแพลตฟอร์มสำหรับค้นหาบริการ และผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ โดยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาแพทย์ และบทความที่เกี่ยวข้องกับสภาพอาการได้ นอกจากนั้นยังสามารถทำการนัดหมายออนไลน์ และติดต่อแพทย์ผ่านทั้งเว็บไซต์ และ mobile application ได้อย่างสะดวก และมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ในส่วนของการค้นหาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์นั้นครอบคลุมมากกว่า 40 สาขา อาทิ ทางเดินหายใจและปอด อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ โลหิตวิทยา หู คอ จมูก เป็นต้น

YMID Portal ศูนย์รวมทุกข้อมูลสำคัญเพื่อรีบมือโควิด – 19

 YMID Portal เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ภายใต้แคมเปญ Thai TeleHealth Fight Covid-19 เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ข่าวสารสถานการณ์การแพร่ระบาดของ “COVID-19” ที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ โดยผ่านการคัดกรองจากหน่วยงานวิจัยและนวัตกรรมของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค ฯลฯ รวมถึงแนวทางการดูแลสุขภาพ การใช้ชีวิตประจำวันในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 และนวัตกรรมฝีมือคนไทยที่เป็นประโยชน์ ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.ymid.or.th หรือเฟซบุ๊คเพจ Yothi Medical Innovation District: ย่านนวัตกรรมทางการแพทย์ หรือไลน์แอด @YMID

“ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์” ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า NIA ได้ร่วมส่งเสริม สนับสนุนทั้งสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการให้มีการพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์กับทางด้านสุขภาพและการแพทย์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะนวัตกรรมระบบสุขภาพทางไกล หรือ telehealth ที่เน้นการให้บริการคัดกรอง วินิจฉัยเบื้องต้น และตอบคำถามผ่านระบบตอบการสนทนาอัตโนมัติ (Chat bot) สำหรับประชาชนที่สงสัยกว่าจะติดเชื้อ และยังใช้ระบบการแพทย์ทางไกลสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังแต่ไม่ติดเชื้อ (NCDs) ที่ต้องมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจตามนัดหรือรับยา โดยระบบดังกล่าวช่วยรับโทรศัพท์เก็บประวัติและติดตามอาการรองรับได้ประมาณ 1.5 ล้านคนต่อวัน ทั้งนี้ ตั้งเป้าจะช่วยลดจำนวนผู้ที่ต้องมาโรงพยาบาลลงอย่างน้อย 20% หรือ 750,000 ครั้ง (visit) ซึ่งนอกจากจะป้องกันการติดเชื้อแล้ว ยังช่วยลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ได้อีกด้วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share