ดีอีเอส จับมือหัวเว่ย สานต่อความร่วมมือ บริการคลาวด์ภาครัฐ พร้อมดันไทยเป็นศูนย์กลางดิจิทัลแห่งอาเซียน

กองบรรณาธิการ

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงในการสานต่อความร่วมมือระหว่างสองหน่วยงาน ในการเสริมประสิทธิภาพระบบคลาวด์ พร้อมเสริมแกร่งให้กับศักยภาพด้านการแข่งขันทางดิจิทัลของประเทศไทย รวมถึงการนำโปรแกรมพัฒนาทักษะบุคลากรด้านดิจิทัลของหัวเว่ยมาใช้ในการอบรมผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลของรัฐบาลไทยภายในระยะเวลา  3 ปี  เพื่อร่วมกันสร้างอีโคซิสเต็มคลาวด์ที่มีความพร้อม และนำไปสู่รากฐานของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลให้กับประเทศไทย

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ได้กล่าวว่า ความร่วมมือข้อตกลงระหว่างกระทรวงดิจิทัลฯ และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ในการผลักดันการทำงานร่วมกันเกี่ยวกับเทคโนโลยีคลาวด์ การวิจัยนวัตกรรม รวมถึงการพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์

ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ จะมีการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมซอฟต์แวร์ร่วม (Joint Software Innovation Center) เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการส่งเสริมระบบนิเวศคลาวด์ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ หุ้นส่วนทางอุตสาหกรรม ธุรกิจสตาร์ทอัพ ตลอดจนร่วมกันพัฒนาเชิงประยุกต์การใช้แอปพลิเคชั่นที่กําหนดได้เองในคลาวด์ของภาครัฐ (Government Cloud) สําหรับผู้ใช้ในหน่วยงานภาครัฐของไทย

โดยมีขอบเขตการทำงานและร่วมมือกันมีการพัฒนาข้อมูลเชิงลึก และข้อมูลขนาดใหญ่ของภาครัฐตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล เชื่อมโยงข้อมูลในคลาวด์ของภาครัฐหรือให้เกิดการบูรณาการ ขยายความร่วมมือในเรื่องการจัดเก็บข้อมูลคลาวด์สาธารณะให้มีความก้าวหน้าอย่างเร่งด่วน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0

ความร่วมมือครั้งนี้ยังจะมีการยกระดับพัฒนาบุคคลากรภาครัฐ และเพิ่มพูนทักษะ โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 2,000 คน รวมถึงสร้างโอกาสให้เจ้าหน้าที่ของภาครัฐเดินทางแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ณ ศูนย์นวัตกรรมและการเรียนรู้ระดับโลกของหัวเว่ย และได้สํารวจนวัตกรรมใหม่ในด้านเทคโนโลยีแห่งอนาคต เช่น บิ๊กดาต้า ปัญญาประดิษฐ์ การเชื่อมโยงของอุปกรณ์อัจฉริยะ (IoT) และเทคโนโลยี 5G รวมถึงการขยายความร่วมมือ ไปยังการจัดเก็บข้อมูลคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) เพื่อทันต่อความต้องการและรองรับการใช้งานของผู้ใช้ในหน่วยงานภาครัฐของไทยด้วยการใช้ประโยชน์จากบริการคลาวด์ ที่มีความก้าวหน้าอย่างสูงสุด

นอกจากนี้ ยังจะมีการพัฒนาทักษะและต่อยอดความรู้ด้านเทคโนโลยีคลาวด์ที่ศูนย์นวัตกรรมร่วมด้านซอฟต์แวร์อีกด้วย เพื่อรองรับประเทศไทยเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G ในระดับภูมิภาคอาเซียน โดยมีคลาวด์เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางด้านดิจิทัล และในอนาคต

นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในฐานะพันธมิตรด้านไอซีที หัวเว่ย คลาวด์ ให้บริการในประเทศไทยมากว่า 3 ปี เสริมศักยภาพให้แก่พันธมิตรกว่า 300 ราย ในกว่า 15 อุตสาหกรรม หัวเว้ยเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการคลาวด์ระดับโลกรายแรกที่เปิดตัว Available Zone (AZ) ในประเทศไทย และเป็นรายเดียวที่มี AZ สามแห่งตั้งอยู่ที่นี่ นอกจากนี้ หัวเว่ยจะยังคงส่งเสริมศักยภาพของอีโคซิสเต็มให้แก่ SMEs และบุคลากรที่มีความสามารถด้านดิจิทัลให้แก่ประเทศ ผ่านการริ่เริ่มโครงการต่างๆ ซึ่งรวมถึงโปรแกรมการแข่งขัน Huawei Spark Ignite, Huawei ASEAN Academy และ Seeds for Future ด้วยเป้าหมายความสำเร็จต่างๆ เพื่อให้เกิดการใช้งานบริการคลาวด์และเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย และขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลแห่งอาเซียน และทำให้เกิดโลกอัจฉริยะที่เชื่อมต่อถึงกันอย่างสมบูรณ์ได้ในที่สุด

#ดีอีเอส #หัวเว่ย #บริการคลาวด์ภาครัฐ #ศูนย์กลางดิจิทัลแห่งอาเซียน #ThaiSMEs

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share