ปลัดดีอีเอส เปิดแผน 4 ข้อ ขับเคลื่อนดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นไทยพร้อมสร้างแพลตฟอร์มการชำระเงิน ออนไลน์ใน 6 เดือน

กองบรรณาธิการ

ดีเอีเอส ชู 4 ประเด็นหลัก ขับเคลื่อนดิจิทัลไทย ดันกระทรวงมากกว่าครึ่งใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Paperless) ใน 6 เดือน

ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ปลัดคนที่ 4 ของดีอีเอส ซึ่งรับตำแหน่ง เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กล่าวถึง นโยบายและทิศทางในการขับเคลื่อนดิจิทัลทั้งภาครัฐและเอกชนของไทย ว่า ดีอีเอสมีนโยบาย 4 เรื่องหลักในการขับเคลื่อนดิจิทัลทรานฟอร์มเมชั่นของประเทศ ประกอบด้วย

1. การสร้างความปลอดภัยบนเครือข่ายดิจิทัล (Safe & secured)

2. การเข้าถึงบริการด้านดิจิทัลในราคาที่สมเหตุผล (Reasonably affordable)

3. บริการเครือข่ายเพื่อลดการเลื่อมล้ำ (Widely available)

4. นวัตกรรม (Innovation)

ในส่วนของการสร้างความปลอดภัยบนเครือข่ายดิจิทัล ดีอีเอส มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความปลอดภัยบนเครือข่ายออนไลน์ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายและการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศ นอกจากนี้ดีอีเอสยังจะพัฒนาเทคโนโลยี อาทิ เอไอ (Artificial intelligence) เพื่อลดการหลอกลวง (Scamming) บนเครือข่ายดิจิทัลที่เกิดขึ้นในประเทศโดยมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมมือในการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลของธนาคารให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทุกธนาคารสามารถทำธุรกรรมออนไลน์ร่วมกันได้ มีการสร้างแพลตฟอร์มการตลาดกลาง (Marketplace) เพื่อให้การทำตลาดและการชำระเงินบนโลกดิจิทัลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถเห็นภาพรวมในการนำเสนอแพลตฟอร์มดิจิทัล ออกสู่สาธารณะได้ภายใน 6 เดือน รวมถึงสามารถแจ้งความผิดปกติบนเครือข่ายออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น เป๋าตัง ซึ่งมีผู้ใช้มากกว่า 40 ล้านคน

นอกจากนี้กระทรวงยังมีแผนที่จะขับเคลื่อนให้กระทรวงต่างๆประมาณ 10 กระทรวงจาก 20 กระทรวง มีการใช้ดิจิทัลมากยิ่งขึ้นภายใน 6 เดือน จากปัจจุบันมีการพัฒนาและมีการใช้ดิจิทัลหลากหลายรูปแบบ เช่น การลดใช้กระดาษ (Paperless) ใน 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงการต่างประเทศ ที่มีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านดิจิทัลได้ในราคาที่สมเหตุผล (Reasonably affordable) นั้น ดีอีเอส มีนโยบายที่จะส่งเสริมให้ให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Service providers) มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อพัฒนาโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศของไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะสามารถช่วยลดราคาอินเทอร์เน็ตในประเทศทาให้สามารถลดความเหลื่อมล้าในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง

ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ กล่าวต่อว่า สำหรับบริการเครือข่ายอย่างทั่วถึงเพื่อลดการเลื่อมล้ำ (Widely available) ดีอีเอส ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการในการให้บริการอินเทอร์เน็ตชายขอบเพื่อสร้างโอกาสในการใช้ดิจิทัลของนักเรียนชายขอบสามารถใช้ดิจิทัลและเครือข่ายออนไลน์ในการเข้าถึงความรู้ได้มากยิ่งขึ้น และในส่วนของนวัตกรรมนั้น ดีอีเอส มีนโยบายที่จะขับเคลื่อนนวัตกรรมต่างๆอย่างเต็มที่สามารถที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ยกระดับการพัฒนาประเทศรวมถึงสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศด้วย

“ดีอีเอส มีแผนที่จะนำเทคโนโลยีและพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อน ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ของไทยเพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพการแข่งขันของประเทศในยุคดิจิทัลที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว” ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าว

#ดีอีเอส #ThaiSMEs

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share