เอชพี ทุ่ม 800 ลบ. ผลิตพีซี โน๊ตบุค Made in Thailand ส่งตลาดโลก เผยกลยุทธ์ One HP รับตลาดโต

กองบรรณาธิการ

ดร. อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า บริษัท บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด หรือ เอชพี สำนักงานใหญ่ ได้เลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซีและเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุค ด้วยเงินลงทุนกว่า 842 ล้านบาท มีการจ้างพนักงานคนไทย 100% ประมาณ 10,000 คน และโรงงานมีการผลิตเครื่องพีซีและโน๊ตบุค ภายใต้การรับรองการผลิตสินค้า Made in Thailand ส่งไปขายยังตลาดต่างประเทศกว่า 8 ล้านเครื่อง คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 200,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีความสำคัญในการเป็นศูนย์กลางการลงทุนและฐานการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงในภูมิภาค ที่ผลิตสินค้าด้วยมาตรฐานในระดับสากล เพิ่อจำหน่ายสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งสะท้อนความเชื่อมั่นในศักยภาพและอนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างชัดเจน รวมถึงสามารถขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน 

นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของเอชพี ยังสามารถนำเข้าประมูลงานราชการในรูปแบบของสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย ด้วย

ด้านวรานิษฐ์ อธิจรัสโรจน์ กรรมการผู้จัดการ เอชพี ประเทศไทย กล่าวว่า เอชพี สำนักงานใหญ่ เลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตคอมพิวเตอร์แห่งใหม่ในช่วงโควิดที่ผ่านมา และบริษัทแม่ได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทแม่มายังโรงงานผลิตเครื่องพีซีและโน๊ตบุคที่จังหวัดเพชรบุรี และก่อนหน้านี้เอชพี มีโรงงานผลิตพรินเตอร์อิงค์แทงค์ ที่ จังหวัด ชลบุรี 

กรรมการผู้จัดการ กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน สินค้าพีซีและโน๊ตบุคที่ผลิตในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออก สำหรับสินค้าเครื่องพีซีและโน๊ตบุคที่จำหน่ายในประเทศไทย ประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ เป็นสินค้าที่ผลิตในโรงงานประเทศไทยและมีแผนที่จะจำหน่ายสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย ในสัดส่วนที่สูงมากขึ้น

สำหรับผลประกอบการของเอชพีในประเทศไทย คาดว่าจะมีผลประกอบการเติบโตมากกว่าตลาด เนื่องจาก บริษัทมีผลิตภัณฑ์พีซี โน๊ตบุคที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี AI รองรับความต้องการของตลาดมากขึ้น รวมถึงพริ้นเตอร์ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้เอชพียังมีนโยบายในการทำตลาดในประเทศไทย ด้วยการนำเสนอโซลูชั่นครบวงจรผ่านกลยุทธ์ One HP เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความปลอดภัยในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

Koh Kong Meng กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอชพี ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสิงคโปร์ กล่าวว่า กลยุทธ์ One HP บริษัทมีการใช้ศักยภาพของ AI มาช่วยรวมการทำงานของผลิตภัณฑ์เอชพี ครอบคลุมตั้งแต่พีซี, โน๊ตบุคเครื่องพิมพ์,อุปกรณ์ต่อพ่วง (เช่น Poly และ HyperX), ซอฟต์แวร์, บริการ และโซลูชันต่าง ๆซึ่งถูกออกแบบให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อมอบประโยชน์แก่ผู้ใช้งานในสามด้าน ได้แก่ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานช่วยบริหารจัดการต้นทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุดและรักษาความปลอดภัยได้อย่างมืออาชีพ

Meng กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมี 3 เมกกะเทรนด์ ที่จะเข้ามามีบทบาทต่อตลาดไอทีประกอบด้วย เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือ AI at the Edge, ภูมิภาคนิยม (Regionalization) และ การเปลี่ยนแปลงและความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลง (Changing expectations)

ในส่วนของ AI at the Edge นั้นด้วยแรงขับเคลื่อนของ AI และการเพิ่มขึ้นของการดำเนินงานในระดับภูมิภาคตลอดจนความต้องการของลูกค้าและพนักงานที่ไม่เหมือนเดิม องค์กรต่าง ๆกำลังเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่มีความท้าทายอย่างต่อเนื่องความรู้และทักษะด้านดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้นและการจัดการการทำงานอย่างยืดหยุ่นกลายเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินการชีวิตประจำวันและองค์กรธุรกิจ

ด้าน ภูมิภาคนิยม มีการเชื่อมต่อระหว่างประเทศในภูมิภาคยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องความสำคัญของกลุ่มภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และภูมิภาคเอเชียถือเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด เอชพีมีการปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับความต้องการและตลาดในภูมิภาคต่างๆ สามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะของแต่ละตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในระดับภูมิภาค

และในส่วนของความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มพนักงานเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับการทำงาน เอชพีได้ทำการสำรวจดัชนีความสัมพันธ์ในการทำงาน (Work Relationship Index) เป็นประจำทุกปี เพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์ของพนักงานทั่วโลก

“เอชพีมุ่งเน้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และแพลตฟอร์มที่ จะทำให้ประสบการณ์การทำงานของพนักงานดีขึ้นจะช่วยให้พนักงานมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับงาน ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้บริษัทสามารถปรับปรุงผลิตภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการรวมถึงมีรายได้เพิ่มมากขึ้น” Meng กล่าว

#เอชพี #OneHP #ThaiSMEs 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Follow by Email
Pinterest
LinkedIn
Share